"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน" "อินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน"

อินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน

http://guru.sanook.com

AddThis http://www.blognone.com"

Bookmark and Share Blognone

วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2552

บทเรียนจากความผิดพลาดกรณี "มาบตาพุด" โดย กิตติศักดิ์ ปรกติ

วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เวลา 16:13:45 น.  มติชนออนไลน์ Share




บทเรียนจากความผิดพลาดกรณี “มาบตาพุด” โดย กิตติศักดิ์ ปรกติ 

กิตติศักดิ์ ปรกติ


"หาก ผู้ทรงคุณวุฒิอย่างคณะกรรมการกฤษฎีกามองข้ามคำพิพากษาสำคัญ ๆ ของศาลปกครองสูงสุด และไม่ติดตามแนวคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญเสียเองแล้ว รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐจะพึ่งพาคณะกรรมการกฤษฎีกาให้เป็นที่ปรึกษาใน เรื่องสำคัญ ๆ ได้อย่างไร"


 การ ที่ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเมื่อปลายเดือนกันยายน ศกนี้ ด้วยการสั่งให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรม­ชาติและสิ่งแวด­ล้อม การนิคมอุตสาหกรรม และรัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในคดีมาบตาพุดอีก ๕ กระ­ทรวงได้แก่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข ระงับโครงการหรือกิจกรรมตามโครงการมาบตาพุด ๗๖ โครงการไว้ชั่วคราว จนกว่าศาลจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นนั้น

 ดูเหมือนจะจุดชนวนให้เกิดการกล่าวอ้างว่า การระงับโครงการเหล่านี้จะก่อให้เกิดเสียหายเป็นลูกโซ่มีมูลค่ามหาศาล ทั้งทางตรงและทางอ้อม และเกิดข้อโต้แย้งถกเถียงอื่น ๆ ตามมาหลายประการนั้น เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดว่า “เป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเกิด และไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้น” หากผู้เกี่ยว­ข้องไม่ก่อความผิดพลาดขึ้น 


แน่นอนที่สุด ขณะนี้หน่วยงานของรัฐ และผู้เกี่ยวข้องย่อมจะพยายามหาทางเยียวยาความเสียหาย และแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุด อย่างไรก็ดี เราควรจะถือโอกาสที่สังคมกำลังเพ่งเล็งปัญหานี้ร่วมกันสำรวจที่มาของความ บกพร่องผิดพลาดครั้งนี้ และหาทางแก้ไขไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำรอยได้อีกในอนาคต


๑. รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐมองเห็นปัญหานี้ล่วงหน้าหรือไม่?


บทบัญญัติมาตรา ๖๗ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ ฉบับ ๒๕๕๐ อันเป็นที่มาของข้อโต้แย้งถกเถียงเกี่ยวกับการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่ อาจกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือคุณภาพชีวิตของบุคคลนั้น อันที่จริงไม่ใช่ของใหม่ เพราะเป็นบทบัญญัติที่ตราขึ้นตามแนวของมาตรา ๕๖ วรรคสอง และมาตรา ๕๙ ของรัฐธรรมนูญ ฉบับ ๒๕๔๐ ซึ่งมีผลใช้มาแล้วถึง ๑๒ ปีนั่นเอง


สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญมาตรานี้ก็คือ หลักคุ้มครองสิทธิในชีวิตและร่างกาย โดยเน้นสิทธิในการดำรงชีพอย่างปกติ ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชาชน ด้วยเหตุนี้มาตรา ๖๗ วรรคสองจึงวางหลัก ห้ามมิให้ดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อผลกระทบรุนแรงต่อคุณภาพสิ่งแวด ล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ หรือสุขภาพของประชาชน


 แต่การห้ามนี้ก็ไม่ใช่ห้ามขาด เพราะสิ่งที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงนั้น ในทางหลักวิชา ในทางข้อเท็จจริง หรือตามมาตรฐานความรู้สึกนึกคิดของประชาชนอาจจะไม่รุนแรงก็ได้ ดังนั้นรัฐธรรมนูญจึงวางข้อยกเว้นไว้ว่า การดำเนินกิจการเหล่านี้อาจมีได้หากได้ทำสิ่งสำคัญ ๓ สิ่งเสียก่อนคือ


๑. ทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ


๒.รับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย


๓.  ให้คนกลาง คือองค์กรอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชน และนักวิชาการซึ่งเป็นผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสุขภาพได้ให้ความเห็นประกอบ


 กล่าวได้ว่า ความตามรัฐธรรมนูญนี้ เป็นเรื่องที่รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ของรัฐตระหนักดี ด้วยเหตุนี้ คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติไว้เมื่อ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๐ กำหนดให้กระทรวงทรัพยากรธรรม­ชาติและสิ่งแวด­ล้อมในฐานะหน่วยงานผู้รับผิด ชอบหลักร่วมกันกับส่วนราชการอื่นทุกหน่วยงาน กำหนดมาตร­การและกระบวนการรองรับการใช้สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐ และชุมชนในการดำเนิน­การตามมาตรา ๖๗ ของรัฐธรรมนูญ


แต่จากบันทึกรายงานการประชุมของคณะกรรม­การกฤษฎีกา ปรากฏว่าจนถึงเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๒ ไม่ได้มีการดำเนินการในเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรมแต่อย่างใด


จะเห็นได้ว่า หากเจ้าหน้าที่ของรัฐ และหน่วยงานของรัฐ รวมตลอดถึงนักการเมืองที่รับผิดชอบจะใส่ใจต่อปัญหาสำคัญที่อาจกระทบต่อสังคม และเศรษฐกิจของประเทศ ก็น่าจะได้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อป้องกันผลร้ายไว้บ้าง เพราะตั้งแต่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๐ จนกระทั่งศาลปกครองได้มีคำสั่งคุ้ม­ครองชั่วคราว ก็มีเวลาร่วม ๒ ปีเต็ม


คำถามที่ประชาชนควรถามก็คือ การที่งานราชการหละหลวมไม่มีการเตรียมการวิเคราะห์ และป้องกันความเสี่ยง ตลอดจนวางมาตรการแก้ปัญหาให้ทันท่วงที จนเกิดเป็นเรื่องเสียหายใหญ่โตขึ้นเช่นนี้ ใครบ้างหนอควรจะต้องรับผิดชอบ?


๒.เหตุใดหน่วยงานของรัฐเพิ่งจะมาตื่นตัวเอาในปี ๒๕๕๒?


 ความชะล่าใจของหน่วยงานของรัฐที่ดำรงอยู่เกือบสองปีได้สิ้นสุดลง เมื่อประชาชนในพื้นที่อุตสาหกรรมมาบตาพุดได้ใช้สิทธิฟ้องต่อศาลปกครองระยอง ว่าการดำเนินการของนิคมอุตสาหกรรมในเขตเทศบาลมาบตาพุด ก่อให้เกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยของประชาชนในท้องที่อย่าง รุนแรง


แต่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติกลับละเลยไม่ประกาศกำหนดให้ท้องที่ ตำบลมาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษ และศาลปกครองระยองได้พิพากษาเมื่อต้นเดือนมีนาคม ๒๕๕๒ ให้คณะกรรม­การสิ่งแวดล้อมแห่งชาติประกาศท้องที่เทศบาลเมืองมาบตาพุด และใกล้เคียงเป็นเขตควบคุมมลพิษภายใน ๖๐ วันนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา


จากนั้นหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องหน่วยต่าง ๆ จึงเริ่มร้อนตัว และหาทางแก้ตัวด้วยการทยอยส่งหนังสือหารือมายังคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า


๑.  มาตรา ๖๗ วรรคสองของรัฐธรรมนูญมีผลบังคับทันทีหรือไม่ หรือต้องรอให้มีกฎหมายเฉพาะมากำหนดรายละเอียดในการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญเสีย ก่อน และ


 ๒.  ระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะเช่นนั้นหน่วยงานของรัฐจะวางมาตรการเพื่อ ปฏิบัติให้เป็นปามมาตรา ๖๗ วรรคสองของรฐธรรมนูญไปพลางก่อนได้หรือไม่


๓.  ระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะดังกล่าว หน่วยงานซึ่งมีอำนาจอนุญาตตามกฎหมายปัจจุบันจะอาศัยอำนาจตามกฎหมายปัจจุบัน ออกใบอนุญาตแก่โครงการหรือกิจกรรมที่อาจอยู่ใต้บังคับของมาตรา ๖๗ วรรคสองของรัฐธรรมนูญหรือไม่


มีข้อน่าสังเกตว่า หากหน่วยงานเหล่านี้ได้รับหนังสือแจ้งมติคณะรัฐมนตรีเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๕๐ แล้วเกิดสงสัยขึ้นว่า ควรจะปฏิบัติอย่างไร ดังนี้คำถามข้างต้นนี้ก็น่าจะส่งมายังกฤษฎีกาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๐ โน่นแล้ว การที่รอมาถึงสองปีแล้วค่อยถามจึงเป็นข้อที่ชวนสงสัยในคุณสมบัติและความ เหมาะสมต่อตำแหน่งของหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างยิ่ง


การใช้เวลาเนิ่นนานเช่นนี้ ทำให้ฉุกคิดต่อไปว่า ถ้า ไม่มีคำพิพากษาศาลปกครองระยองเมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๕๒ ขึ้นมา เจ้าหน้าที่ของรัฐจะเริ่มคิดตั้งคำถามกันหรือไม่ และในระหว่าง ๒ ปีมานี้ บรรดากระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ไม่มีผู้ทรงคุณวุฒิพอที่จะตอบปัญหา นี้ได้เชียวหรือ


ใน เมื่อบุคลากรหรืออดีตบุคลากรของหน่วยงานเหล่านี้ก็ล้วนได้รับเชิญไป เป็นคณะกรรมการกฤษฎีกาบ้าง เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจขนาดยักษ์ใหญ่ หรือบริษัทใหญ่ ๆ ที่รัฐเป็นผู้ถือหุ้นเสียงข้างมากอยู่หลายคน รับเบี้ยประชุมและโบนัสกันบางแห่งเป็นจำนวนเงินหลายล้านบาท ท่านเหล่านั้นจะไม่มีสติปัญญาเพียงพอจะคิดหาคำตอบไม่ออกกันเชียวหรือ

๓.เหตุใดความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงไม่ช่วยแก้ปัญหา?


 คณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาข้อหารือของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เสนอเข้ามาโดยใช้เวลาประชุม ๓ เดือนระหว่างพฤษภาคมจนถึงกรกฎาคม ๒๕๕๒ จนได้ข้อยุติสรุปได้ว่า


 ๑. แม้สิทธิชุมชนและความคุ้มครองตามมาตรา ๖๖ และ ๖๗ ของรัฐธรรมนูญจะได้เกิดขึ้นและได้รับการคุ้มครองแล้วทันทีที่รัฐธรรมนูญมผล แต่เมื่อมาตรา ๓๐๓ ของรัฐธรรมนูญบัญญัติว่า ให้คณะรัฐมนตรีจัดทำหรือปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จในเวลาที่ กำหนด ทำให้คณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นต่อไปว่ามาตรา ๓๐๓ มาเป็นบทยกเว้นในฐานะเป็นบทเฉพาะกาล มีผลให้มาตรา ๖๗ ของรัฐธรรมนูญยังไม่มีผลบังคับทันที จนกว่าจะมีกาตรากฎหมายเฉพาะกำหนดรายละเอียดในการปฏิบัติแล้ว


๒. ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดรายละเอียดตามมาตรา ๖๗ วรรคสอง คณะกรรม­การกฤษฎีกาเห็นว่า คณะรัฐมนตรีมีหน้าที่จัดทำกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติตามมาตรา ๖๗ วรรคสอง ให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน แต่หากหน่วยงานของรัฐจะใช้ดุลพินิจดำเนินการตามรัฐธรรมนูญไปพลางก่อนก็ไม่ ต้องห้าม แต่อาจเกิดความสับสน เพราะอาจใช้เกณฑ์ต่างกัน และควรเข้าใจด้วยว่า เกณฑ์เหล่านั้นไม่มีผลบังคับเด็ดขาด คือผู้เกี่ยวข้องมีสิทธิโต้แย้งหน่วยงานที่วางเกณฑ์เหล่านั้นได้


๓.ในระหว่างที่ยังไม่มีการตรากฎหมายเฉพาะนั้น หน่วยงานของรัฐอาจออกใบอนุญาตแก่โครงการต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือชุมชนได้ โดยปฏิบัติตามแนวทางที่กฎหมายที่บังคับอยู่ในปัจจุบันได้กำหนดไว้ได้ เพื่อมิให้การพิจารณาอนุญาตหรือการลงทุนของเอกชนต้องหยุดชะงักอันส่งผลกระทบ ต่อการบริหารราชการแผ่นดินและเศรษฐกิจของประเทศ


ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาข้างต้นนี้ได้ทำขึ้นเมื่อปลายเดือน กรกฎาคม ๒๕๕๒ แต่สำหรับผู้ที่ติดตามความเคลื่อนไหวในทางกฎหมายมหาชนพอสมควร ก็จะทราบว่าความเห็นของคณะกรรม­การกฤษฎีกาข้างต้นนี้มีปัญหาทางหลักวิชา เพราะการตีความว่ามาตรา ๖๗ วรรคสองยังไม่มีผลบังคับทันที ต้องรอให้มีกฎหมายเฉพาะมารองรับเสียก่อนนี้ เป็นการตีความที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญอย่างโจ่งแจ้ง และก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ๆ ตามมาอีกหลายประการ


การตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกาข้างต้นนี้ ขัดกับความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๕๕๐ อย่างเห็นได้ชัด เพราะเป็นที่เข้าใจกันดีว่ารัฐธรรมนูญมุ่งให้สิทธิขั้นพื้นฐานมีผลบังคับ ทันที จึงได้ตัดถ้อยคำที่ใช้ในรัฐธรรมนูญ ฉบับ ๒๕๔๐ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดที่ว่า “ทั้งนี้ตามกฎหมายบัญญัติ” ออกไป


 นอกจากนี้กรณีมาตรา ๖๗ นี้ศาลปกครองสูงสุด และศาลรัฐธรรมนูญก็เคยวินิจฉัยไว้ก่อนนั้นแล้วว่า ย่อมมีผลบังคับทันทีโดยไม่ต้องรอให้มีกฎหมายเฉพาะมารองรับอีก


 ศาลปกครองสูงสุด ได้ตัดสินกรณีถมคลองถนนเขต ไว้ตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๕๐ เกือบสองปีก่อนที่คณะกรรมการกฤษฎีกาจะทำความเห็นข้างต้นนี้ โดยศาลได้ปรับใช้รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ และวางหลักว่า แม้การคุ้มครองสิทธิตามมาตรา ๔๖, ๕๖ และ ๕๙ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ จะตกอยู่ใต้บังคับแห่งข้อความที่ว่า “ทั้งนี้ตามกฎหมายบัญญัติ” ก็ต้องถือว่ามีผลเป็นการคุ้มครองสิทธิของประชาชนทันทีแม้ไม่มีกฎหมายบัญญัติ


และ ในคดีนี้ศาลได้วินิจฉัยต่อไปด้วยว่ามาตรา ๖๗ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ก็ย่อมมีผลบังคับทันทีเช่นกัน เพียงแต่ในคดีนี้ศาลได้วินิจฉัยว่า การถมคลองแม้จะมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด แต่ก็ยังไม่ถือว่ากระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม หรือสุขภาพอนามัยของประชาชนหรือชุมชนอย่างรุนแรง


ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไว้ในคำพิพากษาที่ ๓/๒๕๕๒ ในคดีบ่อขยะที่ขอนแก่นเมื่อเดือนมีนาคมปีนี้ โดยได้ชี้ไว้ว่า โดยที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๐ มีเจตนารมณ์ให้รัฐธรรมนูญมีผลบังคับทันทีโดยไม่ต้องรอให้มีกฎหมายบัญญัติอนุ วัติการ


ดัง นั้นการปรับใช้มาตรา ๔๖ แห่ง พ.ร.บ. สิ่งแวดล้อมจึงต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ โดยนัยนี้โครงการที่แม้ตามกฎหมายไม่ต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม หากปรากฏว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวอาจก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงต่อบุคคล หรือชุมชนทั้งด้านสิ่งแวดล้อม หรือคุณภาพชีวิต บุคคลหรือชุมชนมีสิทธิฟ้องต่อศาลปกครองได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๖๗ วรรคสาม เพื่อให้มีการดำเนินการตามมาตรา ๖๗ วรรคสอง

เห็นได้ชัดว่าความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา ขัดต่อคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด และคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งตามกฎหมายย่อมมีผลผูกพันคณะกรรมการกฤษฎีกาในฐานะที่เป็นองค์กรของรัฐ ด้วย  แต่ไม่ปรากฏว่าในการทำความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีการหยิบยกคำพิพากษา ๒ ฉบับนี้ขึ้นมาถกเถียงกันแต่อย่างใด


 หากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างคณะกรรมการกฤษฎีกามองข้ามคำพิพากษาสำคัญ ๆ ของศาลปกครองสูงสุด และไม่ติดตามแนวคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญเสียเองแล้ว รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐจะพึ่งพาคณะกรรมการกฤษฎีกาให้เป็นที่ปรึกษาใน เรื่องสำคัญ ๆ ได้อย่างไร


๔.บทเรียนคดีมาบตาพุดสะท้อนอะไร?


 คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด และคำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญที่หลงหูหลงตาคณะกรรม­การ­กฤษฎีกา และกองเลขานุการไปครั้งนี้ หากจะมองในแง่ระบบข้อมูลข่าวสารที่ไม่ดีก็ยังอาจจะเข้าใจกันได้ แต่ถ้ามองในแง่หลักวิชาแล้วนับว่า น่าหวาดเสียวอย่างยิ่ง เพราะจากรายงานการประชุมของคณะกรรม­การกฤษฎีกา พบว่า การให้ข้อคิดเห็นในกรณีดังกล่าวนี้ดำเนินไปอย่างปราศจากข้อท้วงติง หรือข้อถกเถียงที่พึงมีในทางหลักวิชาอย่างสำคัญ


ในวงวิชานิติศาสตร์ หลักการที่ว่าการตีความกฎหมายต้องตีความให้เป็นผลเป็นสิ่งที่รู้กันอยู่ทั่ว ไป แต่การตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกาที่มีลักษณะเป็นการตีความให้รัฐธรรมนูญไร้ ผลในกรณีนี้ นับว่าเป็นการตีความที่ส่งผลให้คณะกรรมการสูญเสียความน่าเชื่อถือทางวิชาการ ไปอย่างน่าสลดใจ


 นอกจากนี้ หลักวิชากฎหมายมหาชน และหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญยังมีหลักที่ถือเป็นกฏเหล็กข้อหนึ่งว่า การจำกัดสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญนั้น จะจำกัดจนกระทบถึงสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพไม่ได้ หลักข้อนี้เป็นที่รู้จักกันทั่วโลกว่า “หลักธำรงรักษาสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพ” ตามรัฐธรรมนูญ หรือหลักรักษา “essential substance” ที่ไม่อาจล่วงละเมิดได้ เป็นหลักที่มีทั้งในรัฐธรรมนูญ ฉบับ ๒๕๔๐ และยังมีอยู่ในมาตรา ๒๙ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐


ผลของหลักดังกล่าวก็คือ ในเมื่อออกกฎหมายมาจำกัดให้กระทบต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิยังทำไม่ได้ การตีความเนื้อหาของสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญไปกระทบต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิ ยิ่งทำไม่ได้ และการตีความต้องคำนึงถึงการธำรงรักษาสาระสำคัญแห่งสิทธิไว้ก่อนเสมอ จะยอมให้มีการจำกัดสิทธิในสาระสำคัญไม่ได้


การ ปรับใช้กฎหมายกระทบต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิจะมี ได้ก็เฉพาะในกรณีที่เป็นการคุ้มครองสิทธิที่มีคุณค่าสูงกว่าเท่านั้น การตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ถึงกับทำให้สิทธิตามรัฐธรรมนูญไร้ผลไปจึง นับว่า ขัดต่อหลักสาระสำคัญแห่งสิทธิ นับได้ว่าขัดต่อหลักวิชาเป็นอย่างยิ่ง

  คำถามที่ว่าหากรัฐธรรมนูญรับรองสิทธิไว้ โดยยังไม่มีกฎหมายมากำหนดรายละเอียด ดังนี้จะปรับใช้กฎหมายอย่างไร ก็เป็นเรื่องที่มีหลักเป็นที่รู้เข้าใจกันในหมู่นักกฎหมายมหาชนอยู่แล้วว่า ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมาย ย่อมมีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญ ดังนั้นจึงต้องตีความรัฐธรรมนูญเสียด้วยทุกครั้งไป อย่างไรเรียกว่ากระทบรุนแรง อย่างไรเรียกว่าองค์กรอิสระ เมื่อยังไม่มีกฎหมายเฉพาะ ก็เป็นกรณีต้องตีความและปรับใช้กฎหมายให้สอดคล้องกับสาระสำคัญแห่งสิทธิตาม รัฐธรรมนูญ


 ในกรณีที่บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญใช้ข้อความที่มีความหมายกว้าง เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐก็ต้องใช้และตีความรัฐธรรมนูญไปตามความมุ่งหมายของรัฐ ธรรมนูญ โดยคำนึงถึงสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้น ๆ เป็นสำคัญ ไม่ใช่อ้างว่า ยังไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดรายละ­เอียดจึงถือว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญไม่มีผลบังคับ เพราะในกฎหมายอื่น ๆ ที่ไม่มีกฎหมายกำหนดรายละเอียด ผู้มีหน้าที่ใช้กฎหมายก็ต้องตีความกฎหมายเสมอ เช่นหลักในมาตรา ๕ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ว่า “การใช้สิทธิก็ดีการปฏิบัติหน้าที่ก็ดี ต้องกระทำโดยสุจริต” ก็ไม่มีกฎหมาย­กำหนดรายละเอียดแต่ก็ใช้บังคับได้มาร่วม ๘๐ ปีแล้ว


คำว่า “ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี” ในมาตรา ๑๕๐ และคำว่า “ความเสียหายเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและ เหตุอันควร” ในมาตรา ๑๓๓๗ ก็ล้วนแต่ไม่มีกฎหมายใดมากำหนดรายละเอียดทั้งสิ้น ข้ออ้างของเจ้าหน้าที่ของรัฐว่ารัฐธรรมนูญเขียนไม่ชัดเจน จึงฟังไม่ขึ้น


แน่นอนว่าฝ่ายนิติบัญญัติก็อาจเข้ามามีส่วนช่วยกำหนดหลักเกณฑ์ให้ ชัดเจนขึ้นได้ แต่การที่เราเรียนวิชานิติศาสตร์กัน และการที่หน่วยงานทั้งหลายต้องมีผู้เชี่ยวชาญทางนิติศาสตร์ประจำในตำแหน่ง สำคัญ ก็เพื่อจะได้ไม่ต้องรอให้ฝ่ายนิติบัญญัติมากำหนดรายละเอียดเอาเสียทุกเรื่อง นั่นเอง


นอกจากนั้น การใช้กฎหมายที่ผิดพลาด หรือการตรากฎหมายที่ไม่ชอบ ย่อมต้องถูกตรวจสอบโดยฝ่ายตุลาการ ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง และความสัมพันธ์เชิงเหตุผลที่ดำรงอยู่ในข้อเท็จจริงนั้น ๆ และใช้มาตรฐานทางวิชาการนิติศาสตร์มาเป็นเกณฑ์


 การที่กฎหมายมีผลใช้บังคับได้ และเป็นที่เชื่อถือของสาธารณชนได้ ก็ต่อเมื่อมีนักกฎหมายที่ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ และใช้ความรู้และสติปัญญาของตนในการตีความและปรับใช้กฎหมายอย่างซื่อสัตย์ ทั้งต่อกฎหมายและต่อคุณธรรม โดยระวังไม่ให้มีประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องด้วย


แต่ถ้าขาดความรู้ หรือขาดความซื่อตรง หรือไปมีประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องด้วย การวินิจฉัยของตนก็ย่อมจะเสื่อมเสียความน่าเชื่อถือ และอาจเกิดผลร้ายแก่สังคมส่วนรวมเกินกว่าที่จะคาดหมายได้อีกด้วย


 ความเสียหายที่เกิดขึ้นในกรณีมาบตาพุดครั้งนี้ ในความเห็นของผู้เขียนเป็นกรณีที่เป็นผลมาจากความรู้กฎหมายที่ไม่เข้มแข็ง ความตระหนักในคุณธรรมและหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่เข้มแข็ง ซึ่งส่งผลสะเทือนจนทำให้ประเทศไทยไม่เข้มแข็ง


แต่ก็ดูเหมือนว่า แม้ปัญหาวิกฤตในบ้านเราจะเกิดจากความรู้ทางกฎหมายที่ไม่เข้มแข็งนี้จะดำเนิน มาเป็นเวลานับสิบปีแล้ว รัฐบาลก็ยังไม่มีโครงการจะแก้ไขสักที ชวนให้สงสัยต่อไปว่า


หรือว่าต้นเหตุของเมืองไทยไม่เข้มแข็งนั้น แท้จริงแล้วอยู่ที่รัฐบาล?
-------------------------
หมายเหตุ- กิตติศักดิ์ ปรกติ เป็นอาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


 http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1256289609&grpid=&catid=02

--
http://logistics.dpim.go.th
http://thainews.prd.go.th
http://ncecon5.nida.ac.th

วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2552

วันที่ 15-17 ตุลาคม ที่ไบเทค บางนา การใช้โปรแกรม Window Multipoint / www.pil.in.th / info@in.th



 



 
วันที่ 06 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11532 มติชนรายวัน


ไมโครซอฟท์ส่ง Window Multipoint


ปฏิวัติการสอนในร.ร.กว่าหมื่นโรง ชี้ครูไทยเจ๋ง-ชิงระดับโลกที่บราซิล



นาย สุพจน์ ศรีนุตพงษ์ ผู้จัดการฝ่ายการศึกษา บริษัท ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า เพื่อกระตุ้นให้การเรียนการสอนแบบใหม่มีชีวิตชีวา และมีประสิทธิภาพ บริษัทได้จัดทำโปรแกรม Windows MultiPoint ขึ้น โดยออกแบบให้เป็นรูปตัวการ์ตูนมีสีสันน่าสนใจ เพื่อให้นักเรียนมีความรู้สึกอยากเรียน โดยโรงเรียนมีเพียงคอมพิวเตอร์ และเม้าส์ตามจำนวนนักเรียนเท่านั้น โปรแกรมดังกล่าวจะช่วยให้นักเรียนในห้องที่ได้รับเม้าส์ สามารถปฏิสัมพันธ์กันบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ร่วมกันบนหน้าจอเดียว ครูจะเป็นผู้ที่อยู่ในส่วนควบคุมโปรแกรมดังกล่าว โดยใช้พาวเวอร์พอยท์สไลด์ที่นักเรียนสามารถทำกิจกรรมร่วมกันบนสไลด์ที่ออก แบบโดยครู ซึ่งเด็กแต่ละคนจะต้องใช้ความคิดในการตอบคำถาม เพราะมีการรวมคะแนนให้ได้ทันทีในท้ายชั่วโมง ซึ่งครูสามารถประเมินนักเรียนได้ตลอด ไม่จำเป็นต้องรอสอบกลางภาคเรียนเหมือนที่ผ่านมา

นายสุพจน์กล่าวว่า โปรแกรมดังกล่าวหากพัฒนาเต็มรูปแบบ สามารถรองรับเด็กได้ถึง 256 คนพร้อมๆ กัน ขณะนี้อยู่ระหว่างการทดลอง และได้ทดลองกับเด็กไปแล้ว 30 คน แต่หากมีนักเรียนเกิน 40 คนในชั้นเรียน ครูอาจใช้วิธีให้เด็กจับคู่ ร่วมกันคิด และใช้เม้าส์ร่วมกัน ในอนาคตจะรองรับได้ 100 คน สำหรับโรงเรียนที่สนใจต้องเตรียมความพร้อมดังนี้ ห้องเรียนต้องใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ ครูผู้ดูแลต้องมีความรู้พื้นฐานทางเทคนิคเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์บ้าง ใช้โปรแกรมพาวเวอร์พอยท์ได้ โดยในช่วงแรกทีมงานไมโครซอฟท์จะอบรมให้ฟรี นอกจากนี้ ยังปรับใช้กับเด็กพิการหูหนวกได้อีกด้วย โดยได้เริ่มทำแล้วที่ จ.มุกดาหาร ซึ่งเด็กตื่นเต้น และชอบโปรแกรมนี้มาก

"ขณะนี้ไมโครซอฟท์ ได้ลงนามร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ภายใน 5 ปี จะอบรมการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมทั้ง การใช้โปรแกรม Window Multipoint ด้วย แม้จะเป็นเรื่องใหม่ แต่ครูไทยจากโรงเรียนปทุมวิไล ก็พัฒนานวัตกรรมการสอนจนสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศในระดับเอเชียเมื่อกลางปี ที่ผ่านมา และโรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ได้รับรางวัล Popular Vote โดยบริษัทจะส่งผู้ชนะเลิศไปประกวดในระดับโลกที่ประเทศบราซิลต้นเดือน พฤศจิกายน นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์ได้ลงนามกับโรงเรียนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร 400 แห่ง เพื่อติดตั้ง และอบรมการใช้โปรแกรมดังกล่าวด้วย" นายสุพจน์กล่าว

นาย สุพจน์กล่าวด้วยว่า เนื่องจากอยู่ในช่วงทดลอง สามารถดาวน์โหลดมาเพื่อทดลองใช้ฟรี ที่ www.pil.in.th สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ info@in.th หรือชมการสาธิตได้ฟรี และสัมผัสการคิดค้นนวัตกรรมจากคุณครูโรงเรียนปทุมวิไลได้ในงาน "การประชุมนานาชาติด้านการเรียนการสอน" วันที่ 15-17 ตุลาคม ที่ไบเทค บางนา


หน้า 23


 

วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552

ปริศนาเลขบัตรประชาชน 13 หลัก

ปริศนาเลขบัตรประชาชน 13 หลัก

อยากรู้มั้ย ว่าแต่ละตำแหน่งหมายถึงอะไร ค้นหาคำตอบได้ที่นี่

โดย ความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะเรียนหรือทำอะไร ตัวเลขก็ล้วนมีเอี่ยว หรือมายุ่งเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของคนเราเสมอ และในทางกลับกัน ตัวเลขบางตัวอาจจะทำให้เรามีความสุขขึ้นด้วยซ้ำ เช่น ตัวเลขเพิ่มขึ้นของเงินเดือนหรือโบนัส ตัวเลขในบัญชีรายรับ ตัวเลขมูลค่าเพิ่มของหุ้นที่เราซื้อ ฯลฯ ยกเว้น ตัวเลขดอกเบี้ยเงินกู้ ที่งามโดยไม่ต้องรดน้ำ หรือตัวเลขยอดหนี้ที่ยังไม่จ่าย ส่วนตัวเลขที่น่ารังเกียจอีกตัว คือ ตัวเลขอายุที่เพิ่มขึ้นของสาวๆ ที่ยังไม่แต่งงาน เป็นต้น

นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว ยังมี “ตัวเลข” ที่เกี่ยวพันกับความเชื่อต่างๆ ทั้งของไทยและต่างประเทศอีกหลายตัว เช่น คนไทยถือว่า เลข 9 เป็นเลขมงคล เพราะออกเสียงว่า “เก้า” ที่พ้องกับคำว่า “ก้าว” อันหมายถึง ความเจริญก้าวหน้า ด้วยเหตุนี้ ในปัจจุบัน เราจึงเห็นคนไทยจำนวนไม่น้อย ไปทัวร์ไหว้พระ 9 วัดเพื่อความเป็นสิริมงคล จนได้กลายมาเป็นการ “ทำบุญ” อีกรูปแบบที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย 

สำหรับ ฝรั่ง เขาจะถือว่า เลข 13 เป็นเลขอาถรรพ์ หรือเลขอัปมงคล  หรือเรียกกันว่า ลัคกี้นัมเบอร์ (Lucky number) สาเหตุมาจากอาหารมื้อสุดท้าย ของพระเยซูคริสต์ ที่เรียกกันว่า เดอะลาสซับเปอร์ (The Last Supper) นั้น มีสาวกร่วมโต๊ะพร้อมกับพระองค์ นับรวมแล้วได้ 13 คนพอดี ครั้นวันรุ่งขึ้นซึ่งตรงกับวันศุกร์ พระองค์ก็ถูกจับตรึงกางเขนจนสิ้นพระชนม์ เขาจึงถือว่าวันศุกร์ที่ตรงกับวันที่ 13 เป็นวันโชคร้าย

แม้ว่าเลข 13 จะเป็นเลขอาถรรพ์ของฝรั่ง แต่คนไทยโดยทั่วไป ไม่ได้ถือกับตัวเลขดังกล่าว และที่น่าสนใจคือ มี เลข 13 ที่เกี่ยวพันโดยตรงกับคนไทย ซึ่งเชื่อว่า คงมีคนอีกไม่น้อยไม่เคยทราบมาก่อน นั่นคือ เลขประจำตัวประชาชนในบัตรประชาชน หรือที่เดี๋ยวนี้เรียก สมาร์ทการ์ด ที่มีด้วยกัน 13 หลัก และแต่ละหลักก็มิใช่แค่เป็นเพียงจำนวนนับธรรมดาๆ แต่มีความหมายแฝงอยู่ด้วย ซึ่งกลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ขอนำมาเสนอเพื่อเป็นความรู้ ดังนี้

สมมุติว่า เลขบัตรประชาชนของเราเขียนไว้ว่า 1 1001 01245 29 9  (เขียนเว้นวรรค ตามแบบ) แต่ละหลักก็จะมีความหมายดังนี้

หลักที่ 1 (คือหมายเลข 1 ในตัวอย่าง) จะหมายถึง ประเภทบุคคล ซึ่งมีอยู่ 8 ประเภทได้แก่

ประเภท ที่ 1 คือ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย และได้แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลา หมายความว่า เด็กคนใดก็ตามที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2527 เป็นต้นไป อันเป็นวันเริ่มแรกที่เขาประกาศให้ประชาชนทุกคน ต้องมีเลขประจำตัว 13 หลัก เมื่อพ่อแม่ผู้ปกครองไปแจ้งเกิดที่อำเภอ หรือสำนักทะเบียนในเขตที่อยู่ภายใน 15 วันนับแต่เกิดมา ตามที่กฎหมายกำหนด เด็กคนนั้นก็ถือเป็นบุคคลประเภท 1 และจะมีเลขประจำตัวขึ้นด้วยเลข 1 เช่น เด็กหญิงส้มจี๊ด เกิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2527 และพ่อไปแจ้งเกิดที่เขตดุสิตภายในวันที่ 17 มกราคม 2527 เด็กหญิงส้มจี๊ด ก็จะมีหมายเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 1 และก็ต่อด้วยเลขหลักอื่นๆ อีก 12 ตัว เป็น 1 1001 01245 29 9 เป็นต้น ซึ่งเลขนี้จะปรากฏในทะเบียนบ้าน และจะเป็นเลขประจำตัว เมื่อส้มจี๊ดไปทำบัตรประชาชนตอนอายุ 15 ปี

ประเภท ที่ 2 คือ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย ได้แจ้งเกิดเกินกำหนดเวลา หมายความว่า เด็กคนใดก็ตามที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 เป็นต้นไป แล้วบังเอิญว่าพ่อแม่ผู้ปกครองลืมหรือติดธุระ ทำให้ไม่สามารถไปแจ้งเกิดที่อำเภอหรือเขตภายใน 15 วันตามกฎหมายกำหนด เมื่อไปแจ้งภายหลัง เด็กคนนั้นก็จะกลายเป็นบุคคลประเภท 2 และจะมีเลขตัวแรกในทะเบียนบ้านขึ้นด้วยเลข 2 ทันที เช่น ในกรณีส้มจี๊ด หากพ่อไปแจ้งเกิดให้ ในวันที่ 18 มกราคม 2527 หรือเกินกว่านั้น ส้มจี๊ดก็จะมีเลขประจำตัวเป็น 2 1001 01245 29 9 ในทะเบียนบ้าน และเมื่อไปทำบัตรประชาชนในภายหน้า

ประเภทที่ 3 คือ คนไทยและคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในสมัยเริ่มแรก (คือตั้งแต่ก่อนวันที่ 31 พฤษภาคม 2527) หมายความว่า บุคคลใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นคนไทย หรือคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ณ ที่ใดที่หนึ่งในประเทศไทย มาตั้งแต่ก่อนวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 คนนั้นถือว่าเป็นบุคคลประเภท 3 และก็จะมีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 3 เช่น ส้มจี๊ด เกิดเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2501 และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแล้ว ส้มจี๊ดก็จะมีเลขประจำตัวในทะเบียนบ้าน และบัตรประชาชนเป็น 3 1001 01245 29 9

ประเภทที่ 4 คือ คนไทยและคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญคนต่างด้าวแต่แจ้งย้ายเข้า โดยยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชน ในสมัยเริ่มแรก หมายความว่า คนไทยหรือคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญคนต่างด้าว ที่อาจจะเป็นบุคคลประเภท 3 คือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดิมอยู่แล้ว แต่ยังไม่ทันได้เลขประจำตัว ก็ขอย้ายบ้านไปเขตหรืออำเภออื่น ก่อนช่วงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 ก็จะเป็นบุคคลประเภท 4 ทันที เช่น ส้มจี๊ดมีชื่ออยู่ในสำนักทะเบียนเขตคลองสาน มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2527 ส้มจี๊ดก็ขอย้ายบ้านไปเขตดุสิต โดยที่ส้มจี๊ดยังไม่ทันได้เลขประจำตัวจากเขตคลองสาน พอแจ้งย้ายเข้าเขตดุสิต ส้มจี๊ดก็จะกลายเป็นบุคคลประเภท 4 มีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วย 4 กลายเป็น 4 1001 01245 29 9 ทันที แต่ถ้าส้มจี๊ดย้ายจากเขตคลองสานเดิม ไปเขตดุสิต หลังวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 ส้มจี๊ดก็ยังเป็นบุคคลประเภท 3 อยู่ เพราะถือว่าจะได้เลขประจำตัวจากเขตคลองสานแล้ว จะย้ายอย่างไรก็ไม่เปลี่ยนแปลง

การกำหนดให้บุคคลเริ่มมีเลขประจำตัว 13 หลักในทะเบียนบ้านหรือบัตรประชาชน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2527 เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 อันเป็นวันสุดท้าย ของการดำเนินการให้ประชาชน ที่ไม่มีเลขประจำตัวในบัตรหรือทะเบียนบ้าน ได้มีเลขประจำตัวจนครบแล้วนั้น ก็เพราะก่อนหน้านี้ ประเทศไทยยังไม่เคยมีการกำหนดเลขประจำตัวดังกล่าวมาก่อนเลย ดังนั้น ช่วงที่ว่าจึงเป็นระยะเวลาจัดระบบให้เข้าที่เข้าทาง เพราะหลังจากวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 แล้ว ทุกคนจะต้องมีเลขประจำตัวเพื่อสำแดงตนว่า เป็นบุคคลประเภทใด โดยดูตามเงื่อนไขในแต่ละกรณี ซึ่งมีอีก 4 ประเภท คือ

ประเภท ที่ 5 คือ คนไทยที่ได้รับอนุมัติให้เพิ่มชื่อ เข้าไปในทะเบียนบ้านในกรณีตกสำรวจ หรือกรณีอื่นๆ เช่น ส้มจี๊ดมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเขตดุสิตอยู่แล้ว แต่บังเอิญว่าตอนที่มีการสำรวจรายชื่อผู้อยู่ในบ้าน เกิดความผิดพลาดทางเทคนิค ทำให้ชื่อของส้มจี๊ดหายไปจากทะเบียนบ้าน เมื่อไปแจ้งเจ้าหน้าที่และตรวจสอบแล้วว่าตกสำรวจจริง หรือจะเป็นเพราะกรณีอื่นใดก็ตาม เจ้าหน้าที่ก็จะเพิ่มชื่อให้ แต่ส้มจี๊ดก็จะมีหมายเลขในทะเบียนบ้านเป็นบุคคลประเภท 5 และบัตรประชาชนจะขึ้นต้นด้วยเลข 5 ทันที คือ กลายเป็น 5 1001 01245 29 9

ประเภท ที่ 6 คือ ผู้ที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผู้ที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่อยู่ในลักษณะชั่วคราว กล่าวคือ คนที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทย แต่ยังไม่ได้สัญชาติไทย เพราะทางการยังไม่รับรองทางกฎหมาย เช่น ชนกลุ่มน้อยตามชายแดน หรือชาวเขา กลุ่มนี้ถือว่าเป็นผู้เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนบุคคลที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่อยู่ชั่วคราว เช่น นักท่องเที่ยวหรือชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย แม้บางคนจะถือพาสปอร์ตประเทศของตน แต่อาจจะมีสามีหรือภริยาคนไทย จึงไปขอทำทะเบียนประวัติ เพื่อให้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านสามีหรือภริยา คนทั้งสองแบบที่ว่า ถือว่าเป็นบุคคลประเภท 6 เลขประจำตัวในบัตรจะขึ้นต้นด้วยเลข 6 เช่น 6 1012 23458 12

ประเภท ที่ 7 คือ บุตรของบุคคลประเภทที่ 6 ซึ่งเกิดในประเทศไทย คนกลุ่มนี้ในทะเบียนประวัติจะมีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 7 เช่น 7 1012 2345 133

ประเภทที่ 8 คือ คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย คือ ผู้ที่ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือคนที่ได้รับการแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทย และคนที่ได้รับการให้สัญชาติไทย ตั้งแต่หลังวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 เป็นต้นไปจนปัจจุบัน คนกลุ่มนี้เลขในทะเบียนประวัติจะขึ้นด้วยเลข 8 เช่น 8 1018 01234 24 7

คนทั้ง 8 ประเภทนี้ จะมีเพียงประเภทที่ 3, 4 และ 5 เท่านั้น ที่จะมีบัตรประชาชนได้เลย ส่วนประเภทที่ 1 และ 2 จะมีบัตรประชาชนได้ ก็ต่อเมื่อมีอายุถึงเกณฑ์ทำบัตรประจำตัวประชาชน คืออายุ 15 ปี แต่สำหรับบุคคลประเภทที่ 6, 7 และ 8 จะมีเพียงทะเบียนประวัติเล่มสีเหลืองเท่านั้น จะไม่มีการออกบัตรประชาชนให้

ต่อ ไปคือ หลักที่ 2 ถึงหลักที่ 5 (เลข 1001 ในตัวอย่างหรือสี่ตัวถัดไปจากตัวแรก) จะหมายถึง รหัสของสำนักทะเบียน หรืออำเภอที่เรามีชื่ออยู่ในทะเบียนขณะที่ให้เลข ซึ่งก็หมายถึงถิ่นที่อยู่ของเรานั่นเอง กล่าวคือ เลขหลักที่ 2 และ 3 จะหมายถึงจังหวัดที่อยู่ ส่วนหลักที่ 4 และ 5 หมายถึงเขตหรืออำเภอในจังหวัดนั้นๆ เช่น ถ้าเขียนว่า 1001 ก็หมายถึงว่า คุณอาศัยอยู่ที่กรุงเทพฯ ในเขตดุสิต เพราะ 10๐ ในหลักที่ 2 และ 3 หมายถึงกรุงเทพมหานคร ส่วนเลข 01 ในหลักที่ 4 และ 5 คือรหัสของสำนักทะเบียนเขตดุสิต หรือถ้าเขียนว่า 1101 ก็จะหมายถึง อยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอเมือง เพราะ 11 แรกคือ รหัสจังหวัดสมุทรปราการ และ 01 หลัง คือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ เป็นต้น

สำหรับ หลักที่ 6 ถึงหลักที่ 10 (เลข 01245 ในตัวอย่าง) จะหมายถึง กลุ่มที่ของบุคคลแต่ละประเภท ตามหลักแรก (หลักที่ 1) ซึ่งทางสำนักทะเบียนในแต่ละแห่ง ก็จะจัดกลุ่มเรียงไปตามลำดับ หรือหากเป็นเด็กเกิดใหม่ในปัจจุบัน เลขดังกล่าวก็จะหมายถึง เล่มที่ของสูติบัตร (ใบแจ้งเกิดที่อำเภอหรือเขตออกให้) ซึ่งก็คือเลขประจำตัวในทะเบียนบ้านของเด็กที่แต่ละอำเภอหรือเขตออกให้ และจะไปปรากฎในบัตรประชาชน เมื่อถึงอายุต้องทำบัตรนั่นเอง แต่ถ้ายังไม่ถึงเกณฑ์เลขนี้ ก็จะปรากฏอยู่แค่ในทะเบียนบ้านของเด็กเท่านั้น

หลัก ที่ 11 และ 12 (หมายเลข 29 ในตัวอย่างสมมุติ) จะหมายถึง ลำดับที่ของบุคคลในแต่ละกลุ่มประเภท เป็นการจัดลำดับว่าเราเป็นคนที่เท่าไรในกลุ่มของบุคคลประเภทนั้นๆ

หลักที่ 13 (เลข 9 ตัวสุดท้ายในตัวอย่าง) จะหมายถึง ตัวเลขสำหรับตรวจสอบความถูกต้องของเลขทั้ง 12 หลักแรกอีกที

สำหรับ เลขตั้งแต่หลักที่ 6 ถึง 13 นี้เป็นการจัดหมวดหมู่ และเรียงลำดับบุคคลในแต่ละประเภทของสำนักทะเบียนในแต่ละท้องที่ ซึ่งเราก็คงไม่ต้องรู้รายละเอียดอะไรลึกไปกว่านี้ เพราะรู้แล้วอาจจะงงเปล่าๆ

เป็นเรื่องน่าแปลกว่า ตัวเลข 13 หลักที่เป็นหมายเลขในบัตรประชาชน หรือเลขประจำตัวประชาชนของเราแต่ละคนนี้ จะไม่มีการซ้ำกันเลย ผิดกับชื่อหรือนามสกุล ยังมีซ้ำกันได้ และจะเป็นเลขประจำตัวเราจนตาย ไม่มีการเปลี่ยน หรือยกให้คนอื่น และจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ว่า ในอนาคตจะต้องมีการเติมเลข อย่างเลข 8 เข้าไปอีก เพราะเลขไม่พอใช้เหมือนโทรศัพท์มือถือหรือไม่ เขาก็บอกว่าคงอีกนาน อาจจะถึง 100 ปีโน่น เพราะการที่เขาแยกแยะบุคคลเป็นประเภทต่างๆ และยังแยกย่อยเป็นจังหวัดอำเภอ แล้วลงรายละเอียดไปเป็นกลุ่มๆในแต่ละประเภทอีกนั้น ทำให้เพดานหรือช่วงตัวเลขมีความห่างมาก จนสามารถรองรับจำนวนคนได้อีกมาก และหากใครสงสัย หรือมีปัญหาในเรื่องทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส บัตรประชาชน ก็สามารถสอบถามไปได้ที่ สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง โทร. 1548

ตัว เลข 13 หลักที่กล่าวข้างต้น  เป็นเลขประจำตัวประชาชนของแต่ละคนนี้ แม้จะมิใช่ตัวเลขที่เราต้องใช้เป็นประจำในชีวิตประจำวัน ยกเว้นใช้ในการกรอกเอกสารบางอย่าง เช่น การเปิดบัญชีธนาคาร ฯลฯ แต่เลขนี้ก็มีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นการสำแดงตัวตน “ความเป็นคนไทยหรือคนในประเทศไทย” ที่ทำให้เราสามารถอาศัยอยู่ในประเทศไทย และใช้สิทธิอย่างถูกต้องตามกฎหมายได้

http://www.talkystory.com/site/article.php?id=4978

--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
kb
http://camp02.blogspot.com/ camp02
http://kb1951.blogspot.com/ tkpark
http://kbparks.blogspot.com/ tkpark9
http://word1951.blogspot.com/ wordpress
http://www.baanjomyut.com/library/lotus
http://www.pwdom.com
http://weblogcamp2009.blogspot.com/2009
http://www.twitter.com/kajorn
http://www.twitter.com/BKKFlashCamp
http://camp02.readyhomepage.com
http://www.twitter.com/sun1951
http://www.twitter.com/joomlacorner
http://sun1951.vaivaitraining.com
http://sun1951.wordpress.com
http://www.educationatclick.com/th/
http://gotoknow.org/blog/krunoppol/

วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2552

หนังน่าดูสุดสัปดาห์: ของเก่าน่าสนใจจากสัปดาห์ที่แล้วและเทศกาลภาพยนตร์กรุงเทพฯ


ฝันโคตรโคตร


District 9


Miao Miao

 
วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552 เวลา 18:00:05 น.  มติชนออนไลน์

หนังน่าดูสุดสัปดาห์: ของเก่าน่าสนใจจากสัปดาห์ที่แล้วและเทศกาลภาพยนตร์กรุงเทพฯ

สุดสัปดาห์นี้ ภาพยนตร์น่าสนใจส่วนใหญ่จะเป็นหนังที่ตกค้างมาจากสัปดาห์ที่แล้ว


เริ่มตั้งแต่หนังไทยเรื่อง "ฝันโคตรโคตร" ของ "พิง ลำพระเพลิง" ซึ่งอาจถือเป็น "หนังส่วนตัว" ของผู้กำกับที่สืบเนื่องมาจากหนังเรื่อง "โคตรรักเอ็งเลย" อย่างไรก็ตาม หนังเรื่องนี้ก็มีเรื่องราวและการลำดับเรื่องที่ซับซ้อนแพรวพราวน่าสนใจอยู่มิใช่น้อย


ฝันโคตรโคตรได้รับเรตติ้ง น15+ คือ เป็นภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป


หนังน่าสนใจเรื่องต่อมาคือ "District 9" ของผู้กำกับ "นีล บลอมแคมป์" ซึ่ง "ปีเตอร์ แจ๊กสัน" ผู้กำกับภาพยนตร์ไตรภาคชื่อดังเรื่อง "The Lord of the Rings" ภูมิใจนำเสนอด้วยตัวเอง


โดยภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ถือเป็นหนังที่พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์กับมนุษย์ต่างดาวซึ่งมีเนื้อหาไม่ธรรมดา หากแต่กลับมีนัยยะทางสังคมการเมืองที่ลึกซึ้งน่าสนใจ ทั้งนี้ หนังได้รับเรตติ้ง น15+ เช่นเดียวกันกับฝันโคตรโคตร


ปิดท้ายด้วย "Miao Miao" ภาพยนตร์รักโรแมนติกของผู้กำกับ "เจิ้งเสี่ยวเซียะ" ชาวไต้หวัน ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวว่าด้วยความรักครั้งแรก ความผิดหวังครั้งแรก และการเรียนรู้ที่จะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ของเด็กสาว 2 คน ที่มีพื้นฐานชีวิตแตกต่างกัน


หนังไต้หวันเรื่องนี้ได้รับเรตติ้งเป็นภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้ดูทั่วไป และเข้าฉายที่โรงภาพยนตร์เฮาส์ อาร์ซีเอ เพียงเท่านั้น


นอกจากนี้ เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯครั้งล่า สุดยังเริ่มขึ้นแล้วเมื่อวันที่ 24 กันยายนที่ผ่านมา โดยในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์นี้ ก็มีภาพยนตร์น่าสนใจในเทศกาลหลายเรื่อง เช่น

 

"BURMA VJ: REPORTING FROM A CLOSED COUNTRY" (ฉายวันที่ 26 กันยายน เวลา 15.00 น.ที่โรงหนังเอสเอฟ เวิลด์ ซินีม่า ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ พลาซ่า)

 

"Kinatay" (ฉายวันที่ 26 กันยายน เวลา 20.00 น. ที่โรงหนังพารากอน ซินีเพล็กซ์ ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน)

 

"Dogtooth" (ฉายวันที่ 26 กันยายน เวลา 20.40 น. ที่โรงหนังพารากอน ซินีเพล็กซ์ ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน)

 

"Vincere" (ฉายวันที่ 27 กันยายน เวลา 20.00 น. ที่โรงหนังเอสเอฟ เวิลด์ ซินีม่า ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ พลาซ่า)

 

และ "สวรรค์บ้านนา" (ฉายวันที่ 27 กันยายน เวลา 18.50 น. ที่โรงหนังเอสเอฟ เวิลด์ ซินีม่า ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ พลาซ่า)


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1253875626&grpid=no&catid=08

--
http://www.kmutnb.ac.th/index.htm
http://www.ecitthai.net
http://www.tourismthailand.org/seminar/
http://www.thaihotels.org/
http://www.tuasso.com/scripts/tua.asp
http://www.bangkokfilm.org

แนะนำหนังน่าสนใจในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯ: หนังยุโรป อเมริกากลาง และอเมริกาใต้


มาโนเอล เดอ โอลิเวียร่า ผู้กำกับวัยเกิน 100 ปี ชาวโปรตุเกส


Huacho


Antichrist


Dogtooth


I Killed My Mother


Vincere

 
วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552 เวลา 18:30:34 น.  มติชนออนไลน์

แนะนำหนังน่าสนใจในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯ: หนังยุโรป อเมริกากลาง และอเมริกาใต้

หนังกลุ่มสุดท้ายที่น่าสนใจในงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯ ก็คือ หนังนานาชาติ ซึ่งได้แก่หนังจากทวีปยุโรป อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ เช่น


"Eccentricities of a Blonde Hair Girl" หนังที่เล่าเรื่องราวความรักอันเต็มไปด้วยขวากหนามของชายหนุ่มชื่อ "มาคาริโอ้" เริ่มต้นจากการที่เขาได้งานเป็นคนดูแลเอกสารในโกดังของลุงที่เมืองลิสบอน แล้วเขาก็ตกหลุมรักสาวผมบลอนด์ที่อยู่บ้านฝั่งตรงข้ามและต้องการแต่งงานกับ เธอโดยพลัน แต่ลุงของมาคาริโอ้ไม่เห็นด้วยอย่างแรงกับรักครั้งนี้จึงไล่เขาออกจากงาน มาคาริโอ้เดินทางไปหาเงินที่เคป เวิร์ด จากนั้นก็กลับมาโน้มน้าวให้ลุงยอมรับในความรักระหว่างเขากับสาวผมบลอนด์ได้ อย่างไรก็ตาม เขากลับเริ่มพบว่ามีอะไรบางอย่างที่แปลกพิกลในตัวหญิงคนรักของตนเอง ที่น่าสนใจยิ่งกว่าเนื้อหาของหนังก็คือ ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นผล งานของ "มาโนเอล เดอ โอลิเวียร่า" ผู้กำกับวัยย่าง 101 ปี ชาวโปรตุเกส ซึ่งถือเป็นผู้กำกับหนังอายุมากที่สุดที่ยังทำงานอยู่เท่าที่ประวัติศาสตร์ ภาพยนตร์โลกเคยมีมา


"Huacho" ภาพยนตร์ เรื่องแรกของ "อเลฮานโดร เฟอร์นานเดซ อัลเมนดราส" ผู้กำกับชาวชิลี ที่เล่าเรื่องราวของวันอันยาวนานช่วงปลายฤดูร้อน ซึ่งสมาชิกสี่คนในครอบครัวชาวนาของประเทศชิลีต้องดิ้นรนเพื่อปรับตัวให้เข้า กับโลกที่หมุนเวียนเปลี่ยนผัน โลกที่เกมคอมพิวเตอร์หรือเสื้อผ้าชุดใหม่มีความล้ำค่าพอ ๆ กับนมหนึ่งลิตรหรือไวน์หนึ่งแก้ว โลกที่เส้นแบ่งของวัฒนธรรมในประเพณีดั้งเดิมกับค่านิยมยุคใหม่เริ่มจะเลือน รางจางหาย ขณะที่คุณค่าทางสังคมและวัฒนธรรมซึ่งผู้คนยึดถือก็มีความเปลี่ยนแปลงไปอย่าง รวดเร็ว


"35 Shots of Rum" ผลงานของ "แคลร์ เดอนีส์" ผู้กำกับสตรีวัย 63 ปี ที่ได้รับความนับถือมากที่สุดคนหนึ่งในวงการภาพยนตร์ฝรั่งเศส ซึ่ง เล่าเรื่องของ "ไลโอเนล" พ่อม่ายที่อาศัยอยู่กับลูกสาวชื่อ "โจเซฟีน" ในอพาร์ตเม้นต์ละแวกชานเมืองของปารีส ไลโอเนลเป็นคนขับรถไฟ ส่วนโจเซฟีนเป็นหญิงสาวที่อยากมีชีวิตเป็นของตัวเอง พ่อและลูกสาวคู่นี้ต่างฝ่ายต่างคอยดูแลซึ่งกันและกันราวกับทั้งโลกมีเขาและ เธออยู่เพียงแค่สองคน อย่างไรก็ตามโลกใบนี้ไม่ได้มีแค่พวกเขา ชีวิตที่เรียบง่ายของทั้งคู่จึงเริ่มคลอนแคลน


"Cloud 9" หนังเยอรมันของผู้กำกับ "แอนเดรส เดรสเซ่น" ที่เล่าเรื่องราวของ "อิง เก" หญิงชราวัย 60 เศษ ที่แต่งงานมาแล้วกว่า 30 ปีและรักเทิดทูนสามีของตนเองมาก แต่แล้วเธอกลับลุ่มหลงแรงดึงดูดของ "คาร์ล" ชายชราวัย 76 มันคือแรงปรารถนาอันดุดัน เป็นกามผัสสะสุดสวาทที่ทำให้อิงเกรู้สึกราวกับได้ย้อนคืนกลับไปเป็นสาววัย แรกแย้ม


"Antichrist" ภาพยนตร์ ของ "ลาร์ส ฟอน ทรีเยร์" คนทำหนังที่ได้รับการยกย่องว่าอาจเป็นผู้กำกับที่ทะเยอทะยานและมีเอกลักษณ์ มากที่สุดของประเทศเดนมาร์กในรอบ 60 ปี  ในหนังเรื่องนี้ ฟอน ทรีเยร์ นำเสนอเรื่องราวของสองสามีภรรยาผู้จมจ่อมอยู่ในห้วงทุกข์จากการสูญเสียลูก ชายตัวน้อย เขาและเธอหลีกเร้นเข้าไปเยียวยาจิตใจในบ้านพักกลางป่า แต่ธรรมชาตินั้นมีวิถีทางของมันเองและค่อย ๆ กลับกลายเป็นฝันร้ายที่พาทั้งคู่จมดิ่งลงไปสู่ความมืดมนอนธการ สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ Antichrist สามารถส่งให้นักแสดงสาวชาวฝรั่งเศส "ชาร์ล็อตต์ แกงสบูร์ก" คว้ารางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมจากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ปี ค.ศ.2009 มาครอบครองได้สำเร็จ


"Dogtooth" หนังของผู้กำกับชาวกรีซ "ยอร์กอส แลนธิมอส" ที่คว้ารางวัลสาขา "หนังที่ได้รับการจับตามอง" (Un Certain Regard) จากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ปี ค.ศ.2009  ซึ่ง เล่าเรื่องราวของพ่อแม่และลูกสามคนที่อาศัยอยู่ในบ้านย่านชานเมือง อันมีรั้วสูงกั้นล้อมบ้านเอาไว้ เด็กทั้งสามจึงไม่เคยย่างกรายออกไปนอกรั้ว พวกเขาเรียนหนังสือ เล่นสนุก และนั่ง ๆ นอน ๆ ไปตามวิถีที่พ่อแม่เห็นสมควรโดยไม่เคยได้สัมผัสกับโลกภายนอก พวกเขาเชื่อว่าเครื่องบินที่บินผ่านฟ้าคือของเล่นอย่างหนึ่ง และคำว่า "ซอมบี้" หมายถึงดอกไม้เล็ก ๆ สีเหลือง คนนอกเพียงคนเดียวที่ได้เข้ามาในบ้านหลังนี้คือสตรีชื่อ "คริสติน่า" วันหนึ่งคริสติน่าให้ที่คาดผมเป็นของขวัญวันเกิดแก่ลูกสาว 1 ใน 3 คนของบ้าน แต่เธอก็เอ่ยปากขอบางสิ่งเป็นการตอบแทนจากเด็กสาวที่ไม่เคยก้าวออกไปเผชิญ หน้ากับโลกภายนอก


"I Killed My Mother" หนัง ที่สร้างความฮือฮาในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ปี ค.ศ.2009 จากฝีมือการกำกับของ "ซาเวียร์ โดแลน" เด็กหนุ่มชาวแคนาดาวัย 20 ปี ซึ่งเล่าเรื่องราวของ "ฮิวเบิร์ต มิเนล" หนุ่มวัยรุ่นอายุ 17 ปี ผู้ไม่ชอบแม่ของตนเองอย่างรุนแรง เขาสามารถหงุดหงิดได้เพียงแค่มองเห็นแม่สวมเสื้อสเว็ตเตอร์แสนเชยล้าสมัย มองเห็นของแต่งบ้านหน้าตาโหล ๆ หรือมองเห็นเศษขนมปังที่เล็ดรอดออกจากมุมปากของแม่ แต่ลึกลงไปเบื้องหลังความรำคาญดังกล่าว กลับเป็นสิ่งที่แม่ได้ปลูกฝังเอาไว้ในตัวฮิวเบิร์ตอย่างแน่นหนา นั่นคือความพยายามจัดการตัวเองและความรู้สึกผิด ฮิวเบิร์ตสับสนกับความสัมพันธ์ที่ทั้งรักทั้งเกลียดแม่ของตัวเองมากยิ่งขึ้น เรื่อยๆ ในแต่ละวันเขาอยู่กับช่วงชีวิตที่กระชากไปมาระหว่างการเป็นวัยรุ่นทั่วไปกับ วัยรุ่นตกขอบ เขาเริ่มคบหาเพื่อนใหม่ ๆ เสพงานศิลป์ หลบเร้นจากสังคม และมีความสัมพันธ์ทางเพศ แต่ไม่ว่าจะทำอะไร หัวใจของฮิวเบิร์ตก็ห่อหุ้มไปด้วยความรู้สึกดูแคลนต่อผู้หญิงคนหนึ่งที่เขาเคยรัก
 

"Vincere" ภาพยนตร์ของผู้กำกับชาวอิตาลีที่เป็นอดีตนักศึกษาปรัชญาอย่าง "มาร์โค เบลล็อคคิโอ" ซึ่ง เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับ "ไอด้า ดัลเซอร์" ภรรยาลับ ๆ ของ "เบนิโต มุสโสลินี" อดีตผู้นำเผด็จการฟาสซิสต์ของอิตาลีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ไอด้าได้พบมุสโสลินีที่มิลาน เขาเป็นนักสังคมนิยมตัวยงที่ตั้งใจนำพามวลชนไปสู่อนาคตที่เสรีปราศจากการกด ขี่และระบอบกษัตริย์ เธอหลงใหลและเชื่อมั่นในอุดมการณ์ของเขาอย่างรุนแรง สำหรับไอด้า มุสโสลินีคือวีรบุรุษ เธอจึงยอมขายทุกอย่างที่มีเพื่อนำเงินไปให้มุสโสลินีก่อตั้งหนังสือพิมพ์และ พรรคการเมืองฟาสซิสต์ตามที่เขาปรารถนา ไอด้ามีลูกชายหนึ่งคนกับมุสโสลินี ลูกชายผู้เป็นที่ยอมรับในวันลืมตาดูโลกแต่กลับถูกปฏิเสธในภายหลังจากผู้เป็น พ่อ ต่อมาไอด้า อัลเซอร์ กลายเป็นความมืดดำในหน้าประวัติศาสตร์ ซึ่งปลาสนาการไปจากชีวประวัติอันเป็นทางการของผู้นำเผด็จการชาวอิตาลี


"Adhen" (Darnier Maquis) หนังของ "ราบาห์ อะเมอร์-ไซเมเค" คนทำหนังเชื้อสายอัลจีเรียที่อพยพมาเป็นพลเมืองของประเทศฝรั่งเศส ซึ่ง เล่าเรื่องของ "เหมา" หัวหน้าคนงานชาวมุสลิมที่เป็นเจ้าของบริษัทซ่อมแซมรถบรรทุกและแท่นโลหะ ในพื้นที่อุตสาหกรรมเสื่อมโทรมชานกรุงปารีส  ลูกจ้างของเขาส่วนใหญ่เป็นชาวอาหรับหรืออัฟริกันมุสลิม บางคนที่ไม่ใช่มุสลิมก็คิดจะเปลี่ยนศาสนา วันหนึ่งเหมาตัดสินใจตั้งมัสยิดขึ้นและแต่งตั้งอิหม่ามโดยไม่ได้ปรึกษากลุ่ม คนงานก่อน ความสับสนวุ่นวายจึงเกิดขึ้นตามมา


"Double Take" หนังสารคดีสุดพิสดารของ "โยฮัน กริมอนเปรซ" ผู้กำกับชาวเบลเยี่ยม ใน ภาพยนตร์เรื่องนี้คุณจะได้พบทั้งอัลเฟรด ฮิตช์ค็อก สงครามเย็น ลัทธิคลั่งทีวี การเมืองเรื่องเพศ และปริศนาเร้นลับของด็อปเปิลแกงเกอร์ โดยผู้กำกับภาพยนตร์ระดับตำนานผู้ล่วงลับอย่าง "อัลเฟรด ฮิตช์ค็อก" ถูกทำให้มีสถานะเป็นศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์จอมวิตกจริตที่ตกอยู่ใน สถานการณ์ชวนพิพักพิพ่วนยามสงครามเย็น ท่านศาสตราจารย์พูดจาผิดที่ผิดทาง ส่วนนักการเมืองทั้งหลายก็เกิดอาการตะกุกตะกักตอนพยายามจะพูดอะไรให้ถูกต้อง ภายใต้รูปแบบและเนื้อหาหลุดโลก หนังสารคดีแนวทดลองเรื่องนี้มุ่งสำรวจกระแสการเมืองทั่วโลกในยุคปัจจุบันที่ พยายามจะ "ทำความกลัวให้กลายเป็นสินค้า"


"Redemption" ภาพยนตร์สารคดีของผู้กำกับสาวชาวเยอรมัน "ซาบรีน่า วัล์ฟ" ที่มุ่งติดตามชีวิตของหนุ่มชาวอเมริกันสามคนซึ่งเดินทางไปยังประเทศแคนาดาเพื่อหนีทหาร หนังย้อนความทรงจำไปเมื่อครั้งที่ชายหนุ่มกลุ่มนี้ต้องเดินทางจากบ้านเกิด ซึ่งเป็นย่านชานเมืองอันไร้ชีวิตชีวาในเท็กซัส อินเดียน่า และนิวยอร์ค เพื่อไปร่วมรบในสงครามอัฟกานิสถานและอิรัก แต่เหตุการณ์ในสนามรบทำให้ทั้งสามคนเกิดอาการช็อคและต้องทนทุกข์ พวกเขาจึงพยายามหาทางลาออกจากกองทัพในช่วงที่ถูกส่งตัวกลับมาพักผ่อนที่บ้าน แต่ก็ไม่ได้รับอนุญาตจากทางรัฐบาล หลังจากทนทุกข์ทรมานอยู่นานหลายเดือน ชาย หนุ่มทั้งสามจึงนึกถึงความเป็นไปได้เพียงหนทางเดียวที่จะหลุดพ้นจากความ ทรมานดังกล่าวได้ นั่นคือการหลบหนีออกจากมาตุภูมิ โดยการข้ามชายแดนไปสู่แคนาดาเช่นเดียวกับที่ผู้คนนับพันเคยทำมาแล้วในช่วง สงครามเวียดนาม


ทั้งนี้ ผู้สนใจจะไปชมภาพยนตร์ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯ ประจำปี พ.ศ.2552 สามารถตรวจสอบตารางเวลาการฉายหนังเรื่องต่าง ๆ ได้ที่ http://www.bangkokfilm.org

 

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1253272576&grpid=no&catid=08

--
http://www.kmutnb.ac.th/index.htm
http://www.ecitthai.net
http://www.tourismthailand.org/seminar/
http://www.thaihotels.org/
http://www.tuasso.com/scripts/tua.asp
http://www.bangkokfilm.org